การผนวกกำลังระหว่าง AI และ Cybersecurity ในองค์กร : โอกาส และ ความท้าทาย
การรวมตัวกันระหว่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Cybersecurity ในอุตสาหกรรมธุรกิจนั้น นับว่าเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่องค์กรจะต้องเผชิญภายในเวลาเดียวกัน
ในมุมหนึ่ง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยให้องค์กรสามารถตรวจจับและรับมือกับภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปสู่ความสุ่มเสี่ยงและปัญหาที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อความปลอดภัยต่อระบบและข้อมูลขององค์กร
หนึ่งในประโยชน์ของการผนวกการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับ Cybersecurity คือความสามารถในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติในบางกรณี อีกทั้งปัญญาประดิษฐ์ยังสามารถวินิจฉัยและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้รวดเร็วกว่าการดำเนินการจัดการโดยฝีมือมนุษย์ ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพการป้องกันระบบและข้อมูลที่ดียิ่งขึ้นให้แก่องค์กร นอกจากนี้ AI ยังสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ ได้ในเวลาอันสั้น ทำให้องค์กรสามารถตรวจจับรูปแบบและความผิดปกติที่อาจบ่งบอกถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถรับมือเพื่อป้องกันแก้ไขได้อย่างทันเวลา
อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันระหว่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Cybersecurity ยังนำมาซึ่งความท้าทายที่เราต้องรับมืออีกด้วย หนึ่งในนั้นคือโอกาสการถูกรุกรานด้วยพลังและความสามารถของปัญญาประดิษฐ์เอง (AI) นั้นสามารถถูกใช้เพื่อการโจมตีระบบโดยอัตโนมัติและปรับขนาดตามพื้นที่ในการรุกรานได้ ทำให้การตรวจจับและป้องกันนั้นยิ่งเป็นการยากขึ้นไปอีก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้องค์กรจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบ Cybersecurity ให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่กำลังวิวัฒนาการไปอย่างต่อเนื่องให้ได้
อีกหนึ่งความท้าทายคือ ความเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดการลำเอียงจากการใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถ้าหากเครื่องมือเหล่านี้ได้รับการเรียนรู้จากชุดข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนเอนเอียง อาจมีแนวโน้มที่ทำให้ AI ตัดสินใจเลือกปฏิบัติต่อเป้าหมายหรือเลือกใช้ตัวเลือกที่ไม่มีความยุติธรรมได้ อาทิเช่น การตั้งค่าสถานะระบุว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคลใดบุคลลหนึ่งเป็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นโดยอ้างอิงจากชุดข้อมูลที่ถูกป้อนอย่างลำเอียง เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นนี้ องค์กรจะต้องมั่นใจว่าปัญญาประดิษฐ์ขององค์กรนั้นได้รับการพัฒนาและฝึกฝนตามหลักจริยธรรมและความรับผิดชอบให้ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด
ท้ายที่สุด การผนวกกำลังระหว่างปัญญาประดิษฐ์และ Cybersecurity นั้นทำให้องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและความสามารถใหม่ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity จำเป็นที่จะต้องมีความชำนาญในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการใช้งานเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในส่วนของการสอนและฝึกอบรมบุคลากร เพื่อสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะมีบุคลากรความเชี่ยวชาญมากพอที่จะบริหารจัดการการดำเนินงานรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI
และตามข้อมูลที่ได้กล่าวมานั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การร่วมกันทำงานระหว่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Cybersecurity นั้นเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายที่องค์กรจะต้องได้เผชิญ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดจากการใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI องค์กรจำเป็นที่จะต้องพัฒนากลยุทธ์ด้าน Cybersecurity ให้มีความครอบคลุมไปจนถึงเครื่องมือรักษาความปลอดภัยที่ควบคุมการทำงานโดยระบบ AI และมุ่งเน้นในเรื่องการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบ นอกจากนี้องค์กรควรลงทุนในด้านการสอนและการจัดการอบรมที่จำเป็นกับการใช้งานระบบดังกล่าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเหล่าบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity ขององค์กรจะมีทักษะและความชำนาญการในการบริหารจัดการระบบและอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI ได้มากเพียงพอ เพื่อการใช้งานระบบและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
สอบถามบริการ และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวระบบความปลอดภัย คลิกที่นี่
โทร. 02-2980625 อีเมล marketing@a-host.co.th
=============
เกี่ยวกับ A-HOST
บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ตัวแทนพาร์ทเนอร์ Microsoft และ Oracle เราเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายซอร์ฟแวร์ และผู้ให้บริการระบบสารสนเทศชั้นนำ ด้วยความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำโครงการสำคัญ ๆ มากมาย ให้กับทั้งภาครัฐ และเอกชน
เอ-โฮสต์ ยังเป็นผู้ให้บริการออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสม สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาโซลูชั่นในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย Digital Transformation อย่างยั่งยืน
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอ-โฮสต์ (A-HOST) ได้ที่ www.a-host.co.th