Embracing Zero Trust ปฏิวัติทุกแนวทางเพื่อความปลอดภัยในโลกไซเบอร์
ในยุคดิจิทัลปัจจุบันที่มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วนั้น องค์กรจำต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่จะสามารถแทรกซึมเข้ามายังเครือข่ายและเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลสำคัญภายในองค์กรได้ ตามที่รูปแบบการรักษาความปลอดภัยตามแนวขอบเขตแบบดั้งเดิมได้ทำการพิสูจน์แล้วว่า เพียงแค่รูปแบบการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวนั้น ไม่สามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้อย่างเพียงพอ จึงจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการรักษาความปลอดภัย
การเปลี่ยนแปลงแนวทางในการรักษาความปลอดภัยมีความสำคัญจริงหรือ?
ในแนวทางการรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมที่ยึดแนวทางตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ‘ทุกๆ สิ่งภายในเครือข่ายนั้นมีความน่าเชื่อถือ’ นั้นเริ่มที่จะไม่เพียงพอ อาชญากรทางไซเบอร์ในปัจจุบันเริ่มที่จะมีความสามารถในการเจาะระบบการป้องกันได้อย่างเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น และด้วยอัตราการใช้งาน Cloud และการทำงานระยะไกลผ่านระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นจึงเป็นการเพิ่มพื้นที่ในการเสี่ยงถูกโจมตีจากโลกไซเบอร์ได้มากยิ่งขึ้นไปอีก องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงความสำคัญของรูปแบบการรรักษความปลอดภัยแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวได้มากกว่าเดิม
Zero Trust คืออะไร?
ทฤษฎี Zero trust นั้นก็มีความหมายตามชื่อเรียก คือการลบล้างสมมติฐานเก่าๆ ภายใต้ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในระบบมีความน่าเชื่อถือ และแทนที่ด้วยแนวทางการรักษาความปลอดภัยในเชิงรุกที่มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น โดยพื้นฐานของทฤษฎี Zero trust นั้นจะยึดหลัก ‘การใช้สิทธิพิเศษให้น้อยที่สุด’ ที่ซึ่งอุปกรณ์และตัวผู้ใช้งานเองจะได้รับสิทธิ์การเข้าถึงที่จำเป็นขั้นต่ำที่สุดเท่านั้นในการดำเนินการต่างๆ
กุญแจสำคัญสำหรับกลยุทธ์ Zero Trust
Micro-segmentation การแบ่งสัดส่วน:
ระบบและเครือข่ายจะถูกแบ่งสัดส่วนออกเป็นหลากหลายส่วนที่มีขนาดเล็กลง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่แยกตัวออกจากกันและจำกัดพื้นที่การใช้งานให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดขนาดพื้นที่ที่อาจเสี่ยงต่อการถูกโจมตี และป้องกันการขยายตัวของภัยคุกคาม
Multi-factor Authentication (MFA) การรับรองความถูกต้องด้วยหลายปัจจัย:
การติดตั้ง MFA จะช่วยเพิ่มระดับชั้นในการรักษาความปลอดภัยยิ่งขึ้น ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่จะสามารถถึงระบบและทรัพยากรที่สำคัญได้จะมีเพียงผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
Continuous Monitoring การตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง:
กลยุธท์ Zero Trust จะช่วยสนับสนุนในด้านการติดตามและตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งาน สภาพความพร้อมของอุปกรณ์ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นจริง กระบวนการเชิงรุกนี้สามารถที่จะตอบสนองและป้องกันภัยคุกคามที่มีแน้วโน้มว่าจะเป็นอันตรายต่อระบบได้อย่างทันท่วงที
Access Controls การเข้าถึงการควบคุม:
การควบคุมการเข้าถึงในรูปแบบไดนามิกโดยอ้างอิงจากข้อมูลของผู้ใช้งาน สภาพความพร้อมของอุปกรณ์ และข้อมูลในเชิงบริบท เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะมีเพียงผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและทรัพยากรสำคัญได้
Encryption การเข้ารหัส:
กลยุทธ์ Zero Trust จะช่วยส่งเสริมในกระบวนการเข้ารหัสที่มีความเข้มงวด เพื่อการปกป้องข้อมูลที่สำคัญทั้งในกระบวนการเก็บรักษาและระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันการถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต
การเริ่มต้นประยุกต์ใช้กลยุทธ์ Zero Trust
กลยุทธ์ Zero Trust จำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์ที่ครอบคลุมไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนโยบาย และวัฒนธรรม องค์กรควรมีการลงทุนในกลยุทธ์ด้านการจัดการข้อมูลประจำตัวและการเข้าถึง (Identity and Access Management: IAM) เทคโนโลยีการแบ่งสัดส่วนเครือข่าย อุปกรณ์เพื่อการวิเคราะห์ความปลอดภัย ด้วยการใช้งานกลยุทธ์และอุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกันนั้น องค์กรจะสามารถสร้าง Framework รักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะสามารถปรับปรุงเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในปัจจุบันได้
Zero Trust ให้อะไรแก่คุณได้บ้าง
- Enhanced Security ยกระดับการรักษาความปลอดภัย: กลยุทธ์ Zero Trust จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างยอดเยี่ยม เพิ่มความมั่นใจในมาตรการณ์รักษาความปลอดภัยขององค์กรได้มากยิ่งขึ้น
- Data Protection การปกป้องข้อมูล: ด้วยกระบวนการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่มีความเข้มงวดมากขึ้น จึงจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาการถูกล่วงละเมิดข้อมูลและผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าการดำเนินการต่างๆ จะยังคงอยู่ภายใต้กฎปฎิบัติและข้อบังคับทางกฎหมายอีกด้วย
- Flexibility and Scalability ความยืดหยุ่นของระบบ: Zero Trust รองรับรูปแบบการทำงานของเครือข่ายสมัยใหม่ ช่วยให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนความต้องการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้โดยไม่สูญเสียความสามารถในการรักษาความปลอดภัย
- Improved User Experience เพิ่มพูนประสบการณ์ผู้ใช้งาน: กลยุทธ์ Zero Trust จะช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ราบรื่นยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ข้อมูลตามบริบทและกระบวนการรับรองความถูกต้องที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดการถูกรบกวนในระหว่างกระบวนการทำงานและใช้งานระบบหรือเครือข่าย
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องมีกระบวนการรับมือและรักษาความปลอดภัยทั้งในเชิงรุกและเชิงรับเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากภัยคุกคามดังกล่าว กลยุทธ์ Zero Trust จะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่จะท้าทายกรอบความคิดด้านการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมๆ ให้ความสำคัญในการตรวจสอบสิ่งต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มความเข้มงวดในกระบวนการคัดกรองและเข้าถึงระบบหรือข้อมูลที่สำคัญ และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการตรวจสอบให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
และด้วยการยึดหลักการและกลยุทธ์ Zero Trust นี้เอง องค์กรจะสามารถยกระดับการรักษาความปลอดภัยแก่สินทรัพย์ทางดิจิทัล ปกป้องทุกข้อมูลสำคัญ และเสริมสร้างการป้องกันที่แข็งแกร่งต่อทุกภัยคุกคามที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
เตรียมองค์กรของคุณเพื่ออนาคตที่ดีกว่าในการรักษาความปลอดภัย ด้วยกลยุทธ์ Zero Trust การปฏิวัติการรักษาความปลอดภัย ที่จะนำพาทุกความไว้วางใจมาอยู่ในมือคุณ
=============
เกี่ยวกับ A-HOST
บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ตัวแทนพาร์ทเนอร์ Microsoft และ Oracle เราเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายซอร์ฟแวร์ และผู้ให้บริการระบบสารสนเทศชั้นนำ ด้วยความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำโครงการสำคัญ ๆ มากมาย ให้กับทั้งภาครัฐ และเอกชน
เอ-โฮสต์ ยังเป็นผู้ให้บริการออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสม สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาโซลูชั่นในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย Digital Transformation อย่างยั่งยืน