ในปัจจุบันหลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Data Driven มาบ้าง ถึงแม้จะไม่ใช่สายไอทีก็ตาม วันนี้ A-HOST จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Data Driven ว่าคืออะไร สามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง ก่อนอื่นต้องบอกว่า Data Driven หรือ การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในภาษาไทยที่เราเข้าใจกัน เป็นการใช้ข้อมูลมาเป็นหลักในการตัดสินใจ ดำเนินงาน และวางกลยุทธ์ ซึ่งต่างจากวิธีการแบบเดิม ๆ ที่มักอาศัยเพียงประสบการณ์ หรือความคิดเห็นส่วนตัว โดยในปี 2567 นี้ การทำงานแบบเดิม ๆ จะเปลี่ยนไป เพราะ Data Driven ได้กลายเป็นแนวทางการดำเนินงานขององค์กรที่เป็น Digital Transformation
การนำ Data Driven มาปรับใช้งานในยุคปัจจุบันเป็นอย่างไร?
ในปี 2567 นี้ Data Driven ถูกใช้เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น การเก็บข้อมูลเชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากข้อมูลดิบ ช่วยให้หลายองค์กรเข้าใจลูกค้า ตลาด และคู่แข่งได้อย่างลึกซึ้ง ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ในยุคที่มีการแข่งขันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น สามารถติดตามสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และช่วยให้คนทำงานสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ
ยิ่งในยุคที่มีการโจมตีทางไซเบอร์มากขึ้น สิ่งขาดไม่ได้คือการให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล หลายองค์กรให้ความสำคัญกับการลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัย และมีนโยบายการจัดการข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อปกป้องข้อมูลของลูกค้ามากขึ้น การทำ Data Driven เลยตอบโจทย์มากกับองค์กรที่มีข้อมูลเยอะมหาศาล (เช่น ธุรกิจธนาคาร)
และสิ่งที่ตอกย้ำว่าองค์กรในปัจจุบันหันมาทำ Data Driven มากขึ้น ก็เพราะว่า มันสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ในทุก ๆ แผนก ไม่ใช่แค่ฝ่ายไอทีหรือ ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น
Data Driven เข้ามาช่วยทำประโยชน์อย่างไรให้กับองค์กร?
- เพิ่มการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพ: วิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว
- เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน: ข้อมูลที่มีอยู่จะช่วยระบุจุดอ่อนและโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
- ลดความเสี่ยง: ช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงและวางแผนรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขัน: องค์กรที่ใช้ Data Driven effectively มักมีประสิทธิภาพและความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง
หากลองมองแยกออกเป็นแต่ละแผนก Data Driven จะสามารถเข้าไปทำประโยชน์ได้ดังนี้
ทีม Marketing: วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า แนวโน้มตลาดทั้งออฟไลน์-ออนไลน์ เพื่อส่ง Ads หรือ Key Visual ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
ทีม Sales: คาดการณ์ความต้องการของลูกค้า และวิเคราะห์เพื่อวางแผนการขาย
ทีม R&D: วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตเพื่อหาจุดอ่อนและปรับปรุงกระบวนการ
ทีม Finance: วิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงินเพื่อตัดสินใจลงทุน
ทีม HR: วิเคราะห์ข้อมูลพนักงานเพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มขวัญกำลังใจ
ตัวอย่างของการนำ Data Driven ไปปรับใช้:
- ธุรกิจค้าปลีกได้มีการ record ข้อมูลการซื้อ-ขาย โดยนำไปวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อของลูกค้า เพื่อระบุสินค้าที่ขายดีและสินค้าที่ขายไม่ได้ ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงสินค้าคงคลังและเพิ่มยอดขาย
- ธุรกิจสื่ออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้ว่ามีส่วนร่วมหรือเข้าชมสิ่งใดมากที่สุด เพื่อระบุเนื้อหาแต่ละประเภทที่ผู้ใช้สนใจ ซึ่งมูลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อสร้างสื่อ ในการดึงดูดผู้ใช้มากขึ้น
- ธุรกิจธนาคารวิเคราะห์ข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้า เพื่อระบุโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ข้อมูลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
แต่หากจะพูดถึงแค่ประโยชน์อย่างเดียวก็คงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม Data Driven ก็มีข้อจำกัดเล็กน้อยทางการใช้งานเช่นกัน ซึ่งนอกจากข้อมูลที่ได้ควรมีคุณภาพแล้ว ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลก็นับว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในแต่ละองค์กรควรมีบุคลากรที่มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล อีกทั้งยังควรมีเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เหมาะสมอีกด้วย
เน้นย้ำความสำคัญของการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนองค์กรในยุคดิจิทัล
จะเห็นได้ชัดว่า ในปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับตัวและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หนึ่งในสิ่งสำคัญที่องค์กรควรให้ความสำคัญคือ “ข้อมูล” ทุก ๆ หน้าที่ ล้วนใช้ข้อมูลเป็นหัวใจในการดำเนินงาน การนำข้อมูลมาขับเคลื่อนองค์กรหรือที่เรียกว่า “Data Driven” นั้น ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป สำหรับพนักงาน การนำข้อมูลมาวิเคราะห์จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเพียงประสบการณ์หรือความรู้สึกเท่านั้น แต่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี สำหรับผู้บริหาร การนำข้อมูลมาวิเคราะห์จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลกำไร โดยธุรกิจที่ใช้ข้อมูลขับเคลื่อนมักจะมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด ขยายฐานลูกค้า พัฒนาตลาดใหม่ และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ซึ่ง A-HOST เข้าใจดีว่าองค์กรของคุณเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลายในยุคดิจิทัล ดังนั้นเราพร้อมแล้วที่จะเป็นที่ปรึกษา และเป็นส่วนหนึ่งในการพาองค์กรของคุณไปสู่ความสำเร็จ และก้าวไปสู่ องค์กร Digital Transformation ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอ-โฮสต์ (A-HOST) ได้ที่ www.a-host.co.th