Cybersecurity หรือ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ กลายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยภัยคุกคามต่างๆ ในโลกไซเบอร์ที่ต่างก็ทวีความอันตรายและความซับซ้อนยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเชิงรุกเพื่อการป้องกันข้อมูลและเครือข่ายการใช้งานขององค์กรจากภัยคุกคามต่างๆ ดังกล่าว
ในขณะที่เทคโนโลยีต่างก็มีความก้าวหน้าและเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ภัยคุกคามจากโลกเบอร์เองก็มีพัฒนาการอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน กลยุทธ์ Cybersecurity นั้นว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติเพื่อปกป้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการทำงาน และเครือข่ายการทำงาน จากการถูกคุกคามผ่านระบบดิจิทัล ภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์นั้นมีรูปแบบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการล่อลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ (Phishing Attacks) การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย (Malware) และการโจมตีโดยการปฏิเสธการให้บริการ (Distributed Denial of Service : DDoS) ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อองค์กรของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสูญเสียข้อมูล การสูญเสียทางการเงิน รวมไปถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงขององค์กร
และเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นกับองค์กรของคุณ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ Cybersecurity ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรักษาความปลอดภัยให้แก่คุณ
Cybersecurity สำคัญอย่างไร?
Cybersecurity นั้นนับว่ามีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจในทุกๆ ขนาด การถูกโจมตีทางไซเบอร์เพียงแค่ครั้งเดียวสามารถที่จะก่อให้เกิความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อองค์กรได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสูญเสียข้อมูล การหยุดทำงานกระทันหันของระบบหรืออุปกรณ์ และความเสียหายที่มีต่อชื่อเสียงขององค์กร ในบางกรณี การโจมตีทางไซเบอร์ส่งผลให้บางธุรกิจองค์กรต้องยกเลิกการดำเนินกิจการเลยทีเดียว และด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง Cybersecurity จึงควรถูกจัดให้เป็นความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใดหรือประเภทใดก็ตาม
ภัยคุกคามความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ
ภัยคุกคามจากไซเบอร์นั้นมีหลากหลายรูปแบบที่องค์กรอาจจะต้องเตรียมตัวรับมือ หนึ่งในนั้นที่พบบ่อยที่สุดคือ การล่อลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสำคัญ หรือ Phishing Attack โดยการคุกคามโจมตีรูปแบบนี้จะเป็นการหลอกลวงผู้ใช้งานให้ส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น เลขรหัสการเข้าระบบ หรือเลขที่บัตรเครดิต นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการคุกคามอีกประเภท ที่เรียกว่า Malware ซึ่งเป็นการคุกคามโจมตีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อการมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ ที่จะสามารถส่งผลให้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเครือข่ายเป็นอย่างมาก และท้ายที่สุดคือภัยคุกคามที่มีชื่อเรียกว่า Distributed Denial of Service : DDoS หรือ การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ ซึ่งเป็นรูปแบบการโจมตีที่ทำให้เว็บไซต์หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีการถูกเข้าใช้งานมากกว่าปกติ และจะส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากระบบไม่สามารถรองรับการเข้าถึงเป็นจำนวนมากได้ในเวลาพร้อมกัน หรือที่เราคุ้นชินกันในคำว่า ระบบล่ม นั่นเอง
องค์กรสามารถทำอะไรเพื่อป้องภัยคุกคามเหล่านี้ได้บ้าง?
มีหลากหลายขั้นตอนที่องค์กรสามารถทำได้ เพื่อป้องกันภัยการถูกคุกคามจากโลกไซเบอร์ อันดับแรก องค์กรควรจะลงทุนกับอุปกรณ์เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ อาทิ Firewalls ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส และระบบตรวจจับการบุกรุก อุปกรณ์ดังกล่าวนี้จะช่วยในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่างๆ ก่อนที่ภัยเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
นอกเหนือจากการลงทุนในด้านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยแล้ว องค์กรควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในด้านการรับรู้และหลีกเลี่ยงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น การล่อลวงข้อมูลสำคัญ (Phishing Attack) บุคลากรในองค์กรควรได้รับการอบรมวิธีการสังเกตและระบุอีเมล์หรือลิงค์ต้องสงสัย และควรรับรู้ว่าทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ส่งข้อมูลสำคัญต่างๆ ผ่านทางอีเมล์หรือลิงค์ดังกล่าว
ท้ายที่สุดแล้ว องค์กรควรมีการวางแผนเพื่อการรับมือกับเหตุการณ์ความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์ โดยแผนการนี้ควรมีการกำหนดขอบเขตและขั้นตอนเพื่อการรับมือกับการโจมตีทางไซเบอร์ไว้อย่างคร่าวๆ การมีแผนรับมือที่ผ่านการไตร่ตรองเพื่อรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นนั้น จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และลดการเกิดปัญหาการหยุดทำงานกระทันหันของระบบหรือเครื่องมือได้
กลยุทธ์ Cybersecurity นับเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อทุกๆ องค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เหล่าภัยคุกคามเองก็มีพัฒนาการจนมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น กระบวนการเพื่อการป้องกันภัยเหล่านี้ในเชิงรุกจึงเป็นเป็นสิ่งสำคัญอย่างเลี่ยงไม่ได้ และด้วยการลงทุนในอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ Cybersecurity การฝึกอบรมบุคลกรในการตรวจสอบและหลีกเลี่ยงภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการวางแผนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ความมั่นคงปลอดภัยในโลกไซเบอร์ จะช่วยให้องค์กรสามารถป้องกันและรับมือจากการโจมตีทางไซเบอร์ และหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เหล่านี้เองจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม Cybersecurity จึงมีความสำคัญต่อทุกๆ องค์กรในโลกเศรษฐกิจยุคดิจิทัลอย่างเช่นปัจจุบัน
เกี่ยวกับ A-HOST
บริษัท เอ-โฮสต์ จำกัด ตัวแทนพาร์ทเนอร์ Microsoft และ Oracle เราเป็นผู้ให้บริการระบบสารสนเทศชั้นนำ ด้วยความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำโครงการสำคัญ ๆ มากมาย ให้กับทั้งภาครัฐ และเอกชน
เอ-โฮสต์ ยังเป็นผู้ให้บริการออกแบบโซลูชั่นที่เหมาะสม สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาโซลูชั่นในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจด้วย Digital Transformation อย่างยั่งยืน
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอ-โฮสต์ (A-HOST)